วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทคัดย่อ,กิตติกรรมประกาศ

บทคัดย่อ
            โครงงานเรื่อง การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม วิถีไทย วิถีสุรินทร์  มีวัตถุประสงค์ คือ ๑)เพื่อศึกษาวิธีของการเลี้ยงไหม ๒)เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากหนอนไหม ซึ่งขอบเขตของการศึกษาจะศึกษาจากหนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับเยาวชน แหล่งเรียนรู้ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สุรินทร์ และสื่อออนไลน์  การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ผลการศึกษาพบว่า ต้นหม่อน เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างเป็นไม้ทรงพุ่ม เป็นพืชยืนต้น ใบหม่อนเป็นอาหารที่ดีที่สุดของหนอนไหม ผลผลิตเส้นไหมจะมีคุณภาพดีหรือไม่ ผลผลิตต่อไร่จะมากหรือน้อย คุณภาพของใบหม่อนมีส่วนสัมพันธ์โดยตรง รวมทั้งกระบวนการบริหารจัดการแปลงหม่อนเพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุดด้วย  ไหม คือ เส้นใยจากรังไหมผีเสื้อชนิด Bombyx mori ในวงศ์ Bombycidae ผีเสื้อชนิดนี้อ้วนป้อม มีขนขาวและสีครีมคลุมเต็มตัว ปีกมีลายเส้นสีน้ำตาลอ่อนหลายเส้นพาดตามแนวขวาง เมื่ออยู่ในช่วงวัยอ่อนจะเป็นตัวหนอนสีขาวหรือครีม มีรยางค์เล็ก ๆ สั้น ๆ คล้ายขาที่ปลายหาง หนอนไหมที่เลี้ยงกันในประเทศไทยกินใบหม่อนเป็นอาหาร เมื่อหนอนโตเต็มที่จะถักใยหุ้มดักแด้เพื่อฟักตัวเป็นผีเสื้อ ในช่วงนี้สามารถนำมาต้มเพื่อสาวเส้นใยออกมาทอเป็นผืนผ้าได้ เกิดเป็นลวดลายต่างๆที่มีความสวยงาม และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวไทย
กิตติกรรมประกาศ
           รายงานโครงงานเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม วิถีไทย วิถีสุรินทร์ ฉบับนี้ สำเสร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของ คุณครูพชรวรรณ ศรีพันธุ์ ครูผู้สอนที่ได้ให้ความรู้ คำแนะนำตรวจทาน และแก้ไขข้องบกพร่องต่างๆ ด้วยความเอาใจใส่ทุกขั้นตอน เพื่อให้การเขียนรายงานโครงงานฉบับนี้สมบูรณ์ที่สุด
            เพื่อนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๗ ที่สละเวลาแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และให้กำลังใจในการศึกษาค้นคว้าตลอดมา
            ในโอกาสนี้จึงขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สุรินทร์ และทุกๆท่านที่ให้ความช่วยเหลือในการทำงาน และให้กำลังใจแก่คณะผู้จัดทำเสมอมา กระทั่งการศึกษาค้นคว้าโครงงานครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
            ความดีอันเกิดจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  คณะผู้จัดทำขอมอบแด่บิดา  มารดา  ครู  อาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน

            คณะผู้จัดทำมีความซาบซึ้งในความกรุณาอันดียิ่งจากทุกท่านที่ได้กล่าวนามา  และขอกราบขอบพรคุณมา ณ โอกาสนี้

ประวัติผู้จัดทำ






ที่มาและประโยชน์ของการเลี้ยงไหม

คณะผู้จัดทำ
นางสาวชนิภรณ์  ขิมทอง
นายณัฐดนัย  เทพบุตร
นางสาวพิมพ์ลภัทร์  พิยะภา
นายสุธิพงษ์  สังขะฮวด
นางสาวสไบทิพย์  ชมเหิม
นายอธิปัตย์  สุขประเสริฐ
นางสาวปทิตา  สมานสุข
นางสาววันทนีย์  ขอนโพธิ์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๗

คุณครูที่ปรึกษา
คุณครูปานชนก ขันอ่อน

โรงเรียนสุรวิทยาคาร
อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชาภาษาไทย

ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙

บทที่๕ สรุปผลการดำเนินงาน

บทที่๕
สรุปผลการดำเนินงาน

๕.๑ สรุปผลการดำเนินงาน
     จากการศึกษาเรื่อง การเลี้ยงไหม จากเอกสารและสื่อออนไลน์การเลี้ยงไหม พบว่าภูมิปัญญาการเลี้ยงไหมได้มีมาแต่ช้านาน โดยชาวบ้านได้ยึดถือและปฏิบัติต่อมาจนสามารถสร้างรายได้แก้ผู้เลี้ยงไหมมาก ซึ่งหนอนไหมที่เลี้ยงก็มีอยู่หลายสายพันธ์ ซึ่งไหมก็คือตัวอ่อนของแมลงชนิดหนึ่ง เมื่อไหมโตเต็มที่ก็จะสร้างใยออกมา ผู้คนก็จะนำใยไหมที่ได้มาแปรรูปในกระบวนการต่อไป เช่น เป็นสิ่งทอ  เวชสำอาง หรือแม้กระทั่งเป็นอาหารของมนุษย์ ซึ่งสิ่งทอหรือผ้าไหมที่ได้จากกระบวนการแปรรูปไหมนั้น จะมีความแตกต่างทั้งทางด้านลวดลาย ลักษณะ โดยจะมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของ ภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นๆอีกด้วย ซึ่งจากการศึกษาในครั้งนี้ ทำให้คณะผู้จัดทำทราบว่า ที่มาของการเลี้ยงไหมนั้นมีมาไม่ต่ำกว่า ๔,๐๐๐ ปีแล้ว ซึ่งจีนเป็นชาติแรกที่นำเส้นใยไหมมาทอเป็นอาภรณ์เครื่องนุ่งห่มต่างๆ ขั้นตอนในการเลี้ยงไหมเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก ซึ่งการนำไหมไปแปรรูปนั้นสามารถสร้างรายได้ ให้กับชุมชนหรือหน่วยงานที่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตลอดจน ความสัมพันธ์ระหว่างผ้าไหมกับวิถีชีวิตของชาวไทย ซึ่งผ้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตของมนุษย์ นอกจากอาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคอีกด้วย


๕.๒ อภิปรายผล
      จากผลการค้นคว้า พบว่ารังไหมนำมาทำกระดาษได้ โดยทำกระดาษใยไหมหรือแผ่นใยไหมจากหนอนไหมเพื่อใช้เป็นวัสดุใหม่ ๆ สำหรับการใช้สอยในชีวิตประจำวัน และรังไหมนำมาทำผลิตภัณฑ์เวชสำอางได้ เมื่อมีการส่งเสริมความรู้ในการสกัดโปรตีนจากรังไหม และนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางต่างๆ อาทิ สบู่ แชมพู โลชั่น ฯลฯ ทำให้ปัจจุบันสบู่รังไหมขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์โอท็อปที่สร้างรายได้อย่างงามให้กับชุมชนเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ ๑ และข้อที่ ๓  ส่วนสมมติฐานข้อที่ ๒ หนอนไหมนำมาทำยาได้ ไม่เป็นไปตามที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้เพราะยังไม่มีการทดลองที่แน่ชัดจากทางการแพทย์หรือหน่อยงานที่เกี่ยวข้อง                                                                                          


๕.๓ ข้อเสนอแนะ
     จากการศึกษาเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม วิถีไทย วิถีสุรินทร์ คณะผู้จัดทำมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงงาน ดังนี้
     ๕.๒.๑ นอกจากการศึกษาเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแล้วยังมีวิถีชีวิตที่เป็นภูมิปัญญาไทยอีกหลายด้านที่สามารถใช้หลักการที่ใกล้เคียงกันจากการศึกษาครั้งนี้เพื่อไปศึกษาในเชิงเปรียบเทียบ

     ๕.๒.๒ ควรมีการนำเสนองานในรูปแบบหนังสือเล่มเล็กให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล


บทที่ ๔
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
     
       จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมคณะผู้จัดทำได้รับความรู้ดังนี้
๑)ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงหนอนไหม
๒)ได้รับความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากหนอนไหม

       จากการศึกษาพบว่า พันธุ์ไหมแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
๑)      ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน เป็นพันธุ์ดั้งเดิม ชนิดฟักออกได้ตลอดปี (Polyvoltine) ที่มีการอนุรักษ์สืบทอดกันมา โดยมีการพัฒนาพันธุ์ใน ไทยดั้งเดิมเป็นเชื้อพันธุกรรมเท่านั้น คุณลักษณะรังไหมสีเหลืองรูปร่างคล้ายกระสวย เส้นใยยาวประมาณ ๒๕o-๓ooเมตร/รัง เช่น นางน้อยศรีสะเกษ-๑, นางเหลือง นางลาย สำโรง 
http://www.sacict.net/fiber/page/silk/silk_html_2655e141.jpg








แสดงลักษณะของพันธุ์ไหมไทยพื้นบ้าน

 ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม เป็นไหมชนิด polyvoltine into bivoltine ที่พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ระหว่างไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านและพันธุ์ลูกผสมไข่ไหมสามารถฟักออกตามธรรมชาติได้ตลอดทั้งปี ถ้าใช้แม่ผีเสื้อพันธุ์ไทย ส่วนไข่ไหมที่ใช้แม่ผีเสื้อพันธุ์ลูกผสม จะต้องผ่านเทคนิคการฟักเทียมโดยการใช้สารเคมีกระตุ้น เส้นใยยาวประมาณ ๖oo– ooเมตร / รัง เช่นพันธุ์ไทยลูกผสมสกลนคร พันธุ์ทยลูกผสมอุบลราชธานี ๖o-๓๕



http://www.sacict.net/fiber/page/silk/silk_html_m5b6c6d44.jpg






แสดงลักษณะของพันธุ์ไหมไทยลูกผสม

๓)      ไหมพันธุ์ลูกผสม เป็นไหมชนิด bivoltine ฟักออกปีละ ๒ ครั้ง ทีมีการสร้างสายพันธุ์โดยใช้สายพันธุ์ต่างประเทศเป็นคู่ผสมกัน กับการสร้างสายพันธุ์ที่มีการปรับปรุงคู่ผสมพันธุ์ไทยและพันธุ์ต่างประเทศรังรังไหมส่วนมากจะเป็นสีขาวลักษณะรังจะเป็นรูปไข่ เส้นใยยาวมากกว่า ๑,oooเมตร/รัง เช่น พันธุ์นครราชสีมาลูกผสม ๑ (โคราช ๑ xโคราช ๘)
http://www.sacict.net/fiber/page/silk/silk_html_m1015cfc8.jpg








แสดงลักษณะของพันธุ์ไหมลูกผสม

ซึ่งวิธีการเลี้ยงไหมในแต่ละพันธุ์ก็ใช้วิธีการเลี้ยงในลักษณะคล้ายๆกันดังนี้

๔.๑ศึกษาวิธีการเลี้ยงหนอนไหม
การเลี้ยงไหม
      ๔.๑.๑ เมื่อผีเสื้อผสมพันธุ์แล้ว จะวางไข่ภายใน ๑-๒ วันโดยจะออกไข่ได้ ๔๐๐-๖๐๐ ฟอง หลังจากวางไข่ประมาณ ๑๐ วันไข่จะฟักเป็นตัวหนอนเรียกว่า ตัวไหม หรือ หนอนไหม ทันที่ที่ฟักออกจากไข่ หนอนไหมจะเริ่มกินอาหารคือใบหม่อน
      ๔.๑.๒. ระยะที่เป็นตัวหนอนจะมีการเจริญเติบโตเป็น ๕ ระยะ แต่ละระยะจะมีการลอกคราบ เพื่อขยายขนาด การลอกคราบใช้เวลาครั้งละ ๒๔ ชม. ปกติหนอนไหมจะกินอาหารตลอดเวลา ยกเว้นตอนลอกคราบ ขั้นที่เป็นตัวหนอนนี้จะนานกว่าขั้นอื่นๆคือใช้เวลา ๒๐-๒๕ วัน
      ๔.๑.๓. ตัวหนอนระยะสุดท้ายจะมีขนาดใหญ่ที่สุดผู้เลี้ยงจะแยกหนอนไหมระยะนี้ออกไปใส่กระด้งหลายๆใบ และต้องให้อาหารมากกว่าระยะแรกๆ เมื่อหนอนไหมระยะนี้เติบโตเต็มที่ จะเริ่มชักใยพันรอบๆตัวโดยไม่ขาดสาย ซึ่งจะเสร็จเป็นรังไม่ภายใน ๒-๔ วันแล้วหนอนไหมก็ จะเปลี่ยนเป็นตัวดักแด้อยู่ภายในรังไหม
     ๔.๑.๔. ขณะที่เป็นดักแด้ก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจนเป็นตัวผีเสื้อไหมซึ่งใช้เวลา ๑๐-๑๒ วัน จากนั้นผีเสื้อไหมจึงเจาะรังไหมออกมา แล้วผสมพันธุ์ออกไข่ภายใน ๑-๒ วัน หลังจากนั้นจะมีอายุต่อไปเพียง ๒-๓ วัน ก็จะตาย ตัวไหมตั้งแต่ระยะที่เข้าดักแด้จนเป็นผีเสื้อไหมจะไม่กินอาหารเลย
      ๔.๑.๕. ในการเลี้ยงไหมเพื่อเก็บรังไหม ผู้เลี้ยงนิยมให้ตัวไหมชักไยในกระด้งที่มีลักษณะเป็นช่องๆที่เรียกว่า จ่อ ผู้เลี้ยงจะวางไหมที่โตเต็มที่แล้วลงในช่องเพื่อให้ชักไยได้ดีเมื่อตัวไหมชักไยไปได้ ๕-๗ วัน ก็เก็บรังไหมได้ โดยนำรังไหมไปผึ่งแดดหรืออบด้วยความร้อนให้ดักแด้ในรังไหมตายแล้วจึงนำไปสาวไหมต่อไป

๔.๒ศึกษาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากหนอนไหม
         คำอธิบาย: http://202.29.22.173/php/information2/pattarapon/P1010544.jpg ๔.๒.๑. สิ่งทอ ไหมเป็นสิ่งทอที่ล้ำค่ามากกว่าสิ่งทออื่นๆ จนได้รับสมญานามว่า ราชินีแห่งเส้นใยแม้ไหมจะมีข้อเสียคือ ยืดหยุ่นได้น้อย ยับง่าย และซักยาก แต่ข้อเสียเหล่านี้ก็ได้กำจัดหรือทำให้ลดน้อยลงไป โดยการใช้สารเคมีหลายชนิดในกระบวนการผลิต เพื่อทำให้ผ้าไหมซักง่ายขึ้น ลดการยับและลดการทำให้ผ้าเหลืองลงได้ ยังมีการพัฒนาเส้นไหมดิบให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยการตีเกลียวเส้นไหมในทิศทางกลับกันและถี่ขึ้น ใช้เส้นใยที่มีขนาดใหญ่ เส้นใยชนิดนี้จะมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ดี กำจัดข้อเสียต่างๆ ออกได้ ด้วยความเป็นเส้นใยที่ได้จากสัตว์ ไหมจึงได้เปรียบเหนือกว่าเส้นใยอื่น ไหมมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมในการระบายอากาศ ดูดซับความร้อน ทำให้ร่างกายสบาย มีการดูดซับน้ำและระบายความชื้นได้ดีและราคาถูก






การแปรรูปไหมเป็นสิ่งทอ
       
 ๔.๒.๒. เวชสำอาง โปรตีนไหม ชนิดไฟโบรอิน (silk fibroin) เป็นเลิศแห่งมอยซ์เจอไรเซอร์ ที่สามารถให้ความชุ่มชื้นสูงถึง ๓๐๐ เท่า ของน้ำหนัก มีสารช่วยป้องกันผิวแห้ง มีสารลดการเจริญของเชื้อไวรัสและสารต้านไวรัส ซึ่งเป็นผงโปรตีนไหมสกัดจากเส้นไหมที่ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับผิวหนังด้วยกระบวนการทางชีวเคมีดุจเดียวกับธรรมชาติผิว นั่นเป็นสรรพคุณของไหมที่บริษัทเครื่องสำอางแห่งหนึ่งที่ผลิตครีมบำรุงความชุ่มชื้นผิวจากโปรตีนไหมกล่าวถึงไหม นอกจากจะครองความเป็นเลิศในเรื่องของเส้นใยแล้ว ยังเป็นวัสดุที่มีคุณค่า เมื่อนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาพัฒนา
คำอธิบาย: http://anchaleecosmetics.com/wp-content/uploads/2014/08/1407244131281-848x478.jpg








ภาพที่ ๑๕ เวชสำอางจากไหม
          ๔.๒.๓. อาหารมนุษย์ มนุษย์รู้จักบริโภคดักแด้จากหนอนไหมมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏ แต่ชาวไทยที่เคยเลี้ยงไหม หรือสาวไหม ล้วนแล้วแต่รู้จักการบริโภคดักแด้ที่อยู่ในรังไหมเป็นอย่างดี เมื่อต้มรังไหมและสาวไหมจนหมดเส้นใย ก็มักจะลอกเปลือกรังชั้นใน และนำดักแด้ที่สุกแล้วมาบริโภค
คำอธิบาย: http://www.prachachat.net/online/2015/06/14346939831434694009l.jpg        








 ภาพที่ ๑๖ ดักแด้









บทที่ ๓ วิธีดำเนินงาน

บทที่ ๓
วิธีดำเนินงาน

      วิธีดำเนินการ เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินการตามหัวข้อต่อไปนี้

๓.๑ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง/แหล่งข้อมูล
      แหล่งข้อมูลที่ไปเก็บข้อมูลการศึกษาเรื่องนี้ที่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (สุรินทร์) ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๔ ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
๓.๒  เครื่องมือในการวิจัย 
      ๑.๒.๑ คอมพิวเตอร์
      ๑.๒.๒ สื่อออนไลน์ที่มีเนื้อหาของการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
      ๑.๒.๓ กล้องถ่ายภาพ
      ๑.๒.๔ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้
      ๑.๒.๕ เครื่องพิมพ์เอกสาร
      ๑.๒.๖ เครื่องบันทึกเสียง
๓.๓ การเก็บรวบรวมข้อมูล
      ๓.๓.๑ การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน  คณะผู้จัดทำได้เรียนรู้เรื่องประโยชน์ของการเลี้ยงไหม  คณะผู้จัดทำจึงได้เลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำเป็นโครงงานหัวข้อนี้
      ๓.๓.๒ การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง คณะผู้จัดทำศึกษาหาความรู้เรื่อง การเลี้ยงไหม จากแหล่งเรียนรู้ศูนย์หม่อนไหมและสื่อออนไลน์ต่างๆ
      ๓.๓.๓ การทำเค้าโครงของโครงงาน คณะผู้จัดทำได้ทำเค้าโครงของโครงงานเรื่อง ประโยชน์ของการเลี้ยงไหม เสนอต่อครูที่ปรึกษาโครงงาน โดยครูที่ปรึกษาได้เสนอให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาของเรื่องให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่ที่ผู้จัดทำต้องการศึกษา แล้วคณะผู้จัดทำเริ่มจัดทำโครงงานนี้
      ๓.๓.๔ การลงมือทำโครงงาน คณะผู้จัดทำได้ลงมือทำโครงงาน
      ๓.๓.๕ การเรียบเรียงและนำเสนอต่อครูที่ปรึกษา
      ๓.๓.๖ การแสดงผลงาน

๓.๔ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
      เรื่องประโยชน์ของการเลี้ยงไหม ใช้การบรรณยายแบบพรรณนา ไม่มีการใช้ข้อมูลสถิติมาเกี่ยวข้อง



















บทที่ ๒ เอกสารที่เกี่ยวข้อง



บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
          ในการศึกษาเรื่อง ประโยชน์ของการเลี้ยงหนอนไหม ของนักเรียนชั้น ม.๔
โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ คณะผู้จัดทำได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
-          เวปไซต์เกี่ยวกับหนอนไหม
-          เวปไซท์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเส้นไหม
เว็ปไซต์เกี่ยวกับหนอนไหม
๑.     ความหมายของหนอนไหม
จากการเอกสารของศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ ๒ . (๒๕๕๖). หนอนไหม
 สืบค้นจาก www.dnp.go.th ความว่า หนอนไหม
๒.๑ หนอนไหมเป็นตัวอ่อนของผีเสื้อชนิดหนึ่ง หลังจากผีเสื้อวางไข่ได้ ๑๐-๑๒ วัน ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวหนอนเรียกว่า หนอนไหมหนอนไหมเจริญเติบโตได้เร็วมาก หนอนไหมต้องลอกคราบเป็นระยะ ๆ เมื่อมีอายุ ๓-๔ วัน หนอนไหมจะหยุดกินอาหารและอยู่เฉย ๆ ประมาณ ๑ วัน จึงลอกคราบ  โดยทั่วไปจะลอกคราบ ๔ ครั้ง เมื่อโตเต็มที่อายุประมาณ ๙ วัน จะหยุดลอกคราบเรียกระยะนี้ว่าไหมสุก มันหยุดกินอาหาร แล้วเริ่มทำงานโดยพ่นของเหลวชนิดหนึ่งออกมาทางปาก เมื่อของเหลวนี้ถูกอากาศจะแข็งตัวเป็นเส้นไหม ซ้อนกันเป็นชั้นๆ หุ้มตัวไหมไว้ เรียกว่า รังไหม เราได้เส้นใยไหมจากรังไหมนี้เอง หนอนไหมจะชักใยอยู่สร้างรังอยู่ประมาณ ๒-๓ วัน จะลอกคราบเป็นดักแด้แล้วกลายเป็นผีเสื้อต่อไปตามวงจรชีวิตของมัน
    



วงจรชีวิตของหนอนไหม

  ๒.๑.๑ ชนิดของหนอนไหม
พันธุ์ไหมในประเทศไทยได้ ๓ ชนิด
      ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน เป็นพันธุ์ดั้งเดิม ชนิดฟักออกได้ตลอดปี (Polyvoltine) ที่มีการอนุรักษ์สืบทอดกันมา โดยมีการพัฒนาพันธุ์ใน ไทยดั้งเดิมเป็นเชื้อพันธุกรรมเท่านั้น คุณลักษณะรังไหมสีเหลืองรูปร่างคล้ายกระสวย เส้นใยยาวประมาณ ๒๕๐-๓๐๐เมตร/รัง เช่น นางน้อยศรีสะเกษนางเหลือง นางลาย สำโรง
 





ลักษณะของพันธุ์ไหมไทยพื้นบ้าน

ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม เป็นไหมชนิด polyvoltine into bivoltineที่พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ระหว่างไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านและพันธุ์ลูกผสมไข่ไหมสามารถฟักออกตามธรรมชาติได้ตลอดทั้งปี ถ้าใช้แม่ผีเสื้อพันธุ์ไทย ส่วนไข่ไหมที่ใช้แม่ผีเสื้อพันธุ์ลูกผสม จะต้องผ่านเทคนิคการฟักเทียมโดยการใช้สารเคมีกระตุ้น เส้นใยยาวประมาณ ๖๐๐-๘๐๐ เมตร / รัง เช่นพันธุ์ไทยลูกผสมสกลนคร พันธุ์ไทยลูกผสมอุบลราชธานี ๖๐-๓๕





ลักษณะของพันธุ์ไหมไทยลูกผสม

ไหมพันธุ์ลูกผสม เป็นไหมชนิด bivoltineฟักออกปีละ ๒ ครั้ง ทีมีการสร้างสายพันธุ์โดยใช้สายพันธุ์ต่างประเทศเป็นคู่ผสมกัน กับการสร้างสายพันธุ์ที่มีการปรับปรุงคู่ผสมพันธุ์ไทยและพันธุ์ต่างประเทศรังรังไหมส่วนมากจะเป็นสีขาวลักษณะรังจะเป็นรูปไข่ เส้นใยยาวมากกว่า ๑๐๐๐ เมตร/รัง เช่น พันธุ์นครราชสีมาลูกผสม ๑




ลักษณะของพันธุ์ไหมลูกผสม
๒.๑.๒ ช่วงวัยของไหม
ไหมแบ่งออกเป็น ๒ ช่วงวัยดังนี้
       ๒.๑.๒.๑. วัยอ่อน
       ไหมวัยอ่อน หมายถึง หนอนไหมนับตั้งแต่ออกจากไข่จน ถึงวันที่ ๓ การเลี้ยงหนอนไหมวัยอ่อนนิยมเลี้ยงเป็นชั้น โดยใส่กล่องหรือกระด้ง ที่ทำด้วยตะแกรงเหล็กอาบพลาสติก หรือ อะลูมิเนียม นำใบหม่อนที่หั่นแล้ว มาโรยให้หนอนไหมกินเป็นเวลา เช่นเดียวกับหนอนไหมวัยแก่ แต่ต้องหมั่นเกลี่ยหนอนให้กระจายสม่ำเสมอ ก่อนให้อาหาร มิฉะนั้นจะทำให้หนอนเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ ควรรักษาความชื้น และอุณหภูมิให้สูงกว่าไหมวัยแก่ ในประเทศญี่ปุ่น นิยมเลี้ยงหนอนไหมในห้องควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น เพราะจะทำให้หนอนไหมแข็งแรง และเติบโต สม่ำเสมอดีมาก ได้ผลคุ้มกับค่าใช้จ่าย ที่ต้องลงทุนเพิ่มเติม
 ๒.๑.๒.๒. วัยแก่
       ไหมวัยแก่ หมายถึง หนอนไหมวัย ๔-๕ (อายุประมาณ ๑๒-๑๓ วัน) ซึ่งเป็นไหมที่โตแล้ว
 การเลี้ยงดูง่ายขึ้น ไม่บอบช้ำง่ายเหมือนไหมวัยอ่อน
    
 ๒.๑.๓. การเลี้ยงไหม
      ๒.๑.๓.๑. เมื่อผีเสื้อผสมพันธุ์แล้ว จะวางไข่ภายใน ๑-๒ วันโดยจะออกไข่ได้ ๔๐๐-๖๐๐ ฟอง หลังจากวางไข่ประมาณ ๑๐ วันไข่จะฟักเป็นตัวหนอนเรียกว่า ตัวไหม หรือ หนอนไหม ทันที่ที่ฟักออกจากไข่ หนอนไหมจะเริ่มกินอาหารคือใบหม่อน
      ๒.๑.๓.๒. ระยะที่เป็นตัวหนอนจะมีการเจริญเติบโตเป็น ๕ ระยะ แต่ละระยะจะมีการลอกคราบ เพื่อขยายขนาด การลอกคราบใช้เวลาครั้งละ ๒๔ ชม. ปกติหนอนไหมจะกินอาหารตลอดเวลา ยกเว้นตอนลอกคราบ ขั้นที่เป็นตัวหนอนนี้จะนานกว่าขั้นอื่นๆคือใช้เวลา ๒๐-๒๕ วัน
      ๒.๑.๓.๓. ตัวหนอนระยะสุดท้ายจะมีขนาดใหญ่ที่สุดผู้เลี้ยงจะแยกหนอนไหมระยะนี้ออกไปใส่กระด้งหลายๆใบ และต้องให้อาหารมากกว่าระยะแรกๆ เมื่อหนอนไหมระยะนี้เติบโตเต็มที่ จะเริ่มชักใยพันรอบๆตัวโดยไม่ขาดสาย ซึ่งจะเสร็จเป็นรังไม่ภายใน ๒-๔ วันแล้วหนอนไหมก็ จะเปลี่ยนเป็นตัวดักแด้อยู่ภายในรังไหม
      ๒.๑.๓.๔. ขณะที่เป็นดักแด้ก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจนเป็นตัวผีเสื้อไหมซึ่งใช้เวลา ๑๐-๑๒ วัน จากนั้นผีเสื้อไหมจึงเจาะรังไหมออกมา แล้วผสมพันธุ์ออกไข่ภายใน ๑-๒ วัน หลังจากนั้นจะมีอายุต่อไปเพียง ๒-๓ วัน ก็จะตาย ตัวไหมตั้งแต่ระยะที่เข้าดักแด้จนเป็นผีเสื้อไหมจะไม่กินอาหารเลย
      ๒.๑.๓.๕. ในการเลี้ยงไหมเพื่อเก็บรังไหม ผู้เลี้ยงนิยมให้ตัวไหมชักไยในกระด้งที่มีลักษณะเป็นช่องๆที่เรียกว่า จ่อ ผู้เลี้ยงจะวางไหมที่โตเต็มที่แล้วลงในช่องเพื่อให้ชักไยได้ดีเมื่อตัวไหมชักไยไปได้ ๕-๗ วัน ก็เก็บรังไหมได้ โดยนำรังไหมไปผึ่งแดดหรืออบด้วยความร้อนให้ดักแด้ในรังไหมตายแล้วจึงนำไปสาวไหมต่อไป


เว็ปไซต์ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเส้นไหม
2.ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเส้นไหม
จากการเอกสารของกรมหม่อนไหม. (2557). ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเส้นไหม
 สืบค้นจาก www.qsds.go.th ความว่า ๒.๑.๔ การนำไหมไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ
๒.๑.๔.๑. สิ่งทอ ไหมเป็นสิ่งทอที่ล้ำค่ามากกว่าสิ่งทออื่นๆ จนได้รับสมญานามว่า ราชินีแห่งเส้นใยแม้ไหมจะมีข้อเสียคือ ยืดหยุ่นได้น้อย ยับง่าย และซักยาก แต่ข้อเสียเหล่านี้ก็ได้กำจัดหรือทำให้ลดน้อยลงไป โดยการใช้สารเคมีหลายชนิดในกระบวนการผลิต เพื่อทำให้ผ้าไหมซักง่ายขึ้น ลดการยับและลดการทำให้ผ้าเหลืองลงได้ ยังมีการพัฒนาเส้นไหมดิบให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยการตีเกลียวเส้นไหมในทิศทางกลับกันและถี่ขึ้น ใช้เส้นใยที่มีขนาดใหญ่ เส้นใยชนิดนี้จะมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ดี กำจัดข้อเสียต่างๆ ออกได้ ด้วยความเป็นเส้นใยที่ได้จากสัตว์ ไหมจึงได้เปรียบเหนือกว่าเส้นใยอื่น ไหมมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมในการระบายอากาศ ดูดซับความร้อน ทำให้ร่างกายสบาย มีการดูดซับน้ำและระบายความชื้นได้ดี สามารถดูดซับน้ำได้มากกว่าฝ้าย ๑.๕ เท่า แต่ระบายความชื้นได้เร็วกว่า ๕๐% และดูดซับความร้อนไว้ที่เนื้อผ้าได้สูงกว่า ๑๓-๑๕% ปกติอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์บริเวณเต้านม และต้นขาประมาณ ๓๓.๓-๓๔.๒ องศาเซลเซียส เมื่อสวมใส่ชุดผ้าไหม จะทำให้อุณหภูมิของร่างกายบริเวณดังกล่าวลดลงเหลือ ๓๑-๓๓ องศาเซลเซียส แต่ต้องไม่ใช่ชุดผ้าไหมที่ซับในด้วยผ้าที่ผลิตจากเส้นใยชนิดอื่นนะครับ ดังนั้น จึงทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกอบอุ่นในฤดูหนาว แต่จะเย็นสบายในฤดูร้อน ไม่เหนียวเหนอะหนะเวลาสวมใส่ผ้าไหม ด้วยเหตุผลดังกล่าว ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ที่มีอากาศร้อนและหนาวในรอบ ๑ ปี จึงพัฒนาชุดชั้นในที่ทำด้วยเส้นใยไหม ดึงดูดความสนใจได้มากกว่าเส้นใยสังเคราะห์อื่นๆ นอกจากจะใช้ผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่งห่มแล้วยังใช้เป็นเคหะสิ่งทอ อาทิ ผ้าม่าน และผ้าหุ้มชุดเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ในอดีต ถุงน่องสุภาพสตรีทำจากไหมเพียงอย่างเดียว ภายหลังใยสังเคราะห์ไนล่อนเข้ามาทดแทนไหมได้เกือบสมบูรณ์ เนื่องจากมีความเหนียวและทนทาน ยืดหยุ่นดีและราคาถูก แต่ไหมยังดีกว่าไนล่อนอยู่มากในด้านการสัมผัส การดูดซับความร้อนและระบายอากาศ จึงได้มีการพัฒนาเส้นไหมผสม (hybrid silk) เพื่อรวมคุณสมบัติที่ดีของเส้นใยทั้ง ๒ ชนิดไว้ด้วยกัน
http://www.sathorngoldtextilemuseum.com/imgs/teenjok/teenjok-01.jpg 






ผ้าซิ่น
๒.๑.๔.๒. เวชสำอาง โปรตีนไหม ชนิดไฟโบรอิน(silk fibroin) เป็นเลิศแห่งมอยซ์เจอไรเซอร์ ที่สามารถให้ความชุ่มชื้นสูงถึง ๓๐๐ เท่า ของน้ำหนัก มีสารช่วยป้องกันผิวแห้ง มีสารลดการเจริญของเชื้อไวรัสและสารต้านไวรัส ซึ่งเป็นผงโปรตีนไหมสกัดจากเส้นไหมที่ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับผิวหนังด้วยกระบวนการทางชีวเคมีดุจเดียวกับธรรมชาติผิว นั่นเป็นสรรพคุณของไหมที่บริษัทเครื่องสำอางแห่งหนึ่งที่ผลิตครีมบำรุงความชุ่มชื้นผิวจากโปรตีนไหมกล่าวถึงไหม นอกจากจะครองความเป็นเลิศในเรื่องของเส้นใยแล้ว ยังเป็นวัสดุที่มีคุณค่า เมื่อนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาพัฒนาเนื่องจากเส้นใยไหมส่วนใหญ่ (๙๐%)เป็นโปรตีนที่มีความใกล้เคียงกับโปรตีนที่พบในร่างกายมนุษย์ ซึ่งยากยิ่งที่สารสังเคราะห์อื่นใดจะทำได้เสมอเหมือน โปรตีนจากเส้นไหม ซิริซินส่วนใหญ่จะถูกความร้อนชะล้างออกไปเมื่อต้มรังในการสาวไหม เพราะเป็นกาวเหนียวมีเพียง ไฟโบรอินที่ใช้ทำเป็นเส้นใย ดังนั้นในอดีตงานวิจัยจึงมุ่งเน้นไปที่การใช้ประโยชน์จากไฟโบรอิน เมื่อ ๖๐ ปีก่อน บริษัทเครื่องสำอางคาเนโบ แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้นำไฟโบรอินมาหลอมให้อยู่ในรูปของสารละลายก่อนที่จะทำเป็นผงและครีม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อันดับแรกที่ทำจากไหม โดยใช้เป็นเครื่องสำอางแต่งหน้าให้กับผู้แสดงละครคาบูกิ (kabuki) ที่จำเป็นต้องพอกหน้าด้วยเครื่องสำอางอย่างมากทำให้ผู้แสดงรู้สึกสบายผิวมากขึ้น นอกจากนั้นเมื่อต้องแสดงกลางแจ้งสามารถป้องกันอันตรายจากแสงอัลตร้าไวโอเลท (UV light) และที่สำคัญเครื่องสำอางชนิดนี้เข้ากับผิวหน้าได้ดีกว่าชนิดอื่น ต่อมาบริษัทได้ผลิตโพลิเมอร์ไหม (silk polymer) ที่ทำจากไฟโบรอิน เพื่อใช้ในวงการเสริมสวย โดยมีสรรพคุณในการป้องกันเส้นผมเสียในขณะตกแต่งหรือเปลี่ยนทรงผม ปัจจุบัน ครีมรองพื้น ครีมแต่งหน้า และครีมทำความสะอาดจะมี ไฟโบรอินจากไหมเป็นส่วนผสม ญี่ปุ่นประเทศเดียวมีการใช้ไหมทำเครื่องสำอางถึงปีละ ๕-๖ ตัน







ผลิตภัณฑ์จากผงไหม

       ๒.๑.๔.๓. การแพทย์ เป็นที่ทราบกันดีว่าไหมใช้เป็นเส้นด้ายในการเย็บแผลผ่าตัด นอกจากเหนียวทนต่อการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์แล้ว ยังเข้ากับเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้ดี คุณสมบัติของไหมเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์อย่างมาก ในการที่จะหลอมเส้นไหมแล้วทำให้เป็นแผ่นหรือเป็นหลอด ก่อนที่จะเป็นผิวหนังเทียม ท่อต่อเส้นเลือดเทียม แผ่นเอ็นเทียม คอนแท็กเลนซ์ แผ่นไหมปิดแผลสมานเซลล์ผิวหนังให้แผลหายสนิทเร็วขึ้น แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะทำได้ด้วยพลาสติกหรือวัสดุอื่น แต่วัสดุบางชนิดก็ถูกต่อต้านจากร่างกายสูง อีกทั้งยังพบว่าไฟโบรอิน(silk fibroin) มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อเยื่อและกระดูก คาดว่าจะมีการนำไฟโบรอินไหมมาใช้ในวิศวกรรมเนื้อเยื่อและสารนำส่งยา
       ๒.๑.๔.๔. วัสดุทดแทนนุ่น ปุยไหมชั้นนอกไม่สามารถจะนำไปสาวเป็นเส้นได้ เดิมจะมีการลอกปุยไหมชั้นนอกทิ้งไป ก่อนนำรังไปต้มเพื่อสาวเป็นเส้นไหมต่อไป ปัจจุบันหลายประเทศได้คิดค้นการใช้ประโยชน์จากปุยไหมเป็นเส้นใยยัดหมอน ที่นอน และผ้าห่ม เช่นเดียวกับการใช้รังไหมแฝดมาแช่น้ำด่างละลายกาวไหมออก ก่อนดึงเส้นใยเป็นไส้ผ้าห่มแทนนุ่น ใครไปท่องเที่ยวประเทศจีน จะต้องได้ไปชมกระบวนการผลิตผ้าห่มไหม และซื้อกลับมาใช้ที่เมืองไทยกันเกือบทุกคน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้บริษัทเอกชนในประเทศไทยก็มีการผลิตออกจำหน่ายแล้ว นับว่าเศษวัสดุเหลือใช้จากรังไหมได้ถูกพัฒนานำมาใช้ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งแล้ว
       ๒.๑.๔.๕. อาหารมนุษย์ มนุษย์รู้จักบริโภคดักแด้จากหนอนไหมมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏ แต่ชาวไทยที่เคยเลี้ยงไหม หรือสาวไหม ล้วนแล้วแต่รู้จักการบริโภคดักแด้ที่อยู่ในรังไหมเป็นอย่างดี เมื่อต้มรังไหมและสาวไหมจนหมดเส้นใย ก็มักจะลอกเปลือกรังชั้นใน นำดักแด้ที่สุกแล้วมาบริโภค หรือนำไปคั่วก็อร่อยไปอีกแบบหนึ่งหรือนำไปปรุงอาหารชนิดอื่นก็ได้ เช่น ยำ ทอดกับไข่ ผัดกะเพรา ตลาดในภาคอีสาน จะมีดักแด้ไหมขายตามฤดูกาลเลี้ยงไหม ราคากิโลกรัมละประมาณ ๑oo บาท ชาวญี่ปุ่นก็บริโภคดักแด้ไหมที่ปรุงแล้วเช่นเดียวกับ ชาวจีน เกาหลี อินเดีย และพม่า แถมยังมีจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งอีกด้วย ดักแด้ไหมมีโปรตีนและเกลือแร่หลายชนิด มีคุณค่าทางอาหารสูงเพราะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายชนิดถึง ๖๘ % เช่น กรดไลโนเลอิก(linoleic acid) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโอเมก้า-๖ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างสมองร่วมกับการทานของโอเมก้า-๓ ที่ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน และกรดไลโนเลนิก(linolenic acid) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโอเมก้า-๓ จำเป็นต่อการทำงานของสมองในด้านการมองเห็น การปรับตัว การเรียนรู้ อารมณ์ นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วย วิตามินบี ๑ และบี ๒
      ๒.๑.๔.๖. อาหารสัตว์ ดักแด้ไหมสดหรือดักแด้ไหมแห้ง สามารถนำไปเลี้ยงปลาและสัตว์อื่นได้อีกหลายชนิด เช่น ปลา สัตว์ปีก และปศุสัตว์ กำลังมีการมองหาแหล่งโปรตีนใหม่ๆทดแทนการใช้ปลาป่น ที่นับวันจะหายาก และมีราคาแพงขึ้นทุกขณะ ดักแด้ไหมป่นเป็นทางเลือกหนึ่งของการนำไปใช้ทดแทนปลาป่น ดักแด้ไหมที่สกัดไขมันแล้วจะเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูง กากดักแด้ไหม (cake) ที่เหลือจากการนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการทำสบู่และเทียนไขแล้ว สามารถนำไปเป็นอาหารเสริมของปลาและสัตว์ปีกได้ มูลไหมจะมีไนโตรเจนเหลืออยู่ประมาณ ๓.๐๖ % สามารถที่นำไปเป็นอาหารเสริมของปลาร่วมกับเศษใบหม่อนที่เหลือจากการเลี้ยงไหมได้ ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลมากนัก
       ๒.๑.๔.๗. สารป้องกันกำจัดแมลง ในสหรัฐอเมริกาได้มีการนำเชื้อแบคทีเรียชื่อ Bacillus thuringiensisที่แยกได้จากหนอนไหม นำไปใช้เป็นสารกำจัดแมลง (microbial insecticide) หรือใช้หนอนไหมเลี้ยงเชื้อราชนิดนี้ ใช้กำจัดด้วงเจาะลำต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้ฮอร์โมนบางชนิดจากหนอนไหม ควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง จึงมีการใช้หนอนไหมเป็นอาหารของจุลินทรีย์หลายๆชนิดที่สามารถใช้กำจัดแมลงได้ การปลูกเชื้อไวรัสที่เจือจางในหนอนไหม สามารถใช้เป็นวัคซีนป้องกันโรคของสัตว์ได้ ตลอดจนมีการศึกษาการเลี้ยงเชื้อไวรัสและจุลินทรีย์ ที่สามารถนำมาผลิตเป็นยารักษาโรคและสารที่มีประโยชน์ต่างๆมีการใช้หนอนไหมเป็นอาหารของไส้เดือนฝอย เพื่อขยายพันธุ์ให้มีจำนวนมาก ก่อนนำไส้เดือนฝอยไปกำจัดแมลงศัตรูพืชบางชนิด
       ๒.๑.๔.๘. สารเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร มีการทดลองเพิ่มผลผลิตข้าวด้วยโปรตีนไหม โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) ได้ฉีดสารละลายโปรตีนไหมกับข้าวหอมปทุมธานี เปรียบเทียบกับข้าวหอมปทุมธานีที่ไม่ได้ฉีดสารละลายโปรตีนไหมที่ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ปรากฏว่าข้าวหอมปทุมธานี แปลงที่ฉีดสารละลายโปรตีนไหม ต้นข้าวจะแข็งแรง ใบเขียว ลำต้นตั้งตรงกว่าต้นข้าวที่ไม่ได้ฉีด ออกรวงและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าประมาณ ๗ วัน และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ๓๘.๗๕%
       ๒.๑.๔.๙. สิ่งประดิษฐ์จากรังไหม รังไหมที่ผ่ารังเอาดักแด้ออกแล้ว สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ได้หลากชนิด เช่น ดอกทิวลิป ดอกบัว ดอกเฟื่องฟ้า ดอกทานตะวัน ดอกเยอบีร่า ดอกกุหลาบ หรือ ประดิษฐ์เป็นโคมไฟ ฉากกั้นห้อง รูปสัตว์ต่างๆ เช่น นก หนู ฯลฯ ใช้ประดับในอาคาร ในรถยนต์ นอกจากจะสวยงามแล้วยังสะดุดตาแก่ผู้พบเห็นทั่วไปอีกด้วย
      ๒.๑.๔.๑๐. สบู่และเทียนไข ไขจากดักแด้ไหมสามารถนำมาผลิตเป็นสบู่และเทียนไขที่มีคุณภาพสูงญี่ปุ่นและอิตาลี เป็นประเทศที่ผลิตสบู่และเทียนไขคุณภาพสูงจากไขดักแด้ไหมมากเป็นอันดับ ๑ และ ๒ ไขมันที่สกัดได้จะนำไปผ่านกระบวนการเพิ่มไฮโดรเจน (hydrogenation) จะได้ไขสีขาว (white oil) คือกรด สเตียริก (stearic acid) ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสบู่และเทียนไขคุณภาพสูง
       ๒.๑.๔.๑๑. ผงซักฟอก ไฟโบรอินจากไหม ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตผงซักฟอกที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายสิ่งสกปรกได้ดี เพราะมีส่วนช่วยกระตุ้นปฏิกิริยาทางเคมี
       ๒.๑.๔.๑๒. สารเคลือบเครื่องมือและอุปกรณ์ มีการใช้ผงไหมผสมสีฉีดพ่นบนผิวเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ต้องการการสัมผัสที่นุ่มนวล เช่น ปากกา แป้นอักษรคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
        ๒.๑.๔.๑๓. ฟิล์มไหม ใช้เคลือบผลผลิตทางการเกษตร จากการทดลองพบว่ารักษาความสดของกุ้งได้ ถึง ๙ วัน มากกว่าสารโพลิเมอร์จาก ฝ้าย ป่าน ปอ และกระดาษเคลือบ นอกจากนี้ยังมีการนำใยไหมมาทำเป็นแผ่นเช็ดเลนส์ แผ่นทำความสะอาดผิวหน้า ฯลฯ
        ๒.๑.๔.๑๔. เส้นใยคาร์บอน มีการวิจัยและพัฒนาเส้นใยคาร์บอนจากเส้นใยไหมไฟโบรอิน (firoin) มาปรับสภาพด้วยไอโอดีน จากนั้นจึงนำมาผ่านกระบวนการสลายให้เป็นคาร์บอน (carbonization) หลายขั้นตอน โดยเริ่มจากการเผาเส้นไหมตั้งแต่อุณหภูมิ ๒๕ องศาเซลเซียส แล้วคงอุณหภูมิไว้ที่ ๒๕๐ องศาเซลเซียส นาน ๑ ชั่วโมง ก่อนเพิ่มอุณหภูมิเป็น ๔๐๐ องศาเซลเซียส ด้วยอัตราการเพิ่ม ๔๐ องศาเซลเซียส ต่อชั่วโมง สุดท้ายจึงเพิ่มเป็น ๘๐๐ องศาเซลเซียส ด้วยอัตราเพิ่ม ๑ องศาเซลเซียสต่อนาที จะได้คาร์บอนประมาณ ๓๖% โดยน้ำหนัก ซึ่งเส้นใยคาร์บอนที่ได้จะมีความแข็งแรงมาก อันจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ในอนาคต

        ๒.๑.๔.๑๕. วิกเส้นไหม โดยทั่วไปวิกจะทำจากเส้นผมของมนุษย์ แต่มีการศึกษาการนำเส้นไหมจริงมาถักสานเป็นรูปทรงผมแบบแปลกๆ ใช้แทนผมจริงได้ แถมยังเงางามนุ่มสลวยอีกด้วย