วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล


บทที่ ๔
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
     
       จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมคณะผู้จัดทำได้รับความรู้ดังนี้
๑)ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงหนอนไหม
๒)ได้รับความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากหนอนไหม

       จากการศึกษาพบว่า พันธุ์ไหมแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
๑)      ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน เป็นพันธุ์ดั้งเดิม ชนิดฟักออกได้ตลอดปี (Polyvoltine) ที่มีการอนุรักษ์สืบทอดกันมา โดยมีการพัฒนาพันธุ์ใน ไทยดั้งเดิมเป็นเชื้อพันธุกรรมเท่านั้น คุณลักษณะรังไหมสีเหลืองรูปร่างคล้ายกระสวย เส้นใยยาวประมาณ ๒๕o-๓ooเมตร/รัง เช่น นางน้อยศรีสะเกษ-๑, นางเหลือง นางลาย สำโรง 
http://www.sacict.net/fiber/page/silk/silk_html_2655e141.jpg








แสดงลักษณะของพันธุ์ไหมไทยพื้นบ้าน

 ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม เป็นไหมชนิด polyvoltine into bivoltine ที่พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ระหว่างไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านและพันธุ์ลูกผสมไข่ไหมสามารถฟักออกตามธรรมชาติได้ตลอดทั้งปี ถ้าใช้แม่ผีเสื้อพันธุ์ไทย ส่วนไข่ไหมที่ใช้แม่ผีเสื้อพันธุ์ลูกผสม จะต้องผ่านเทคนิคการฟักเทียมโดยการใช้สารเคมีกระตุ้น เส้นใยยาวประมาณ ๖oo– ooเมตร / รัง เช่นพันธุ์ไทยลูกผสมสกลนคร พันธุ์ทยลูกผสมอุบลราชธานี ๖o-๓๕



http://www.sacict.net/fiber/page/silk/silk_html_m5b6c6d44.jpg






แสดงลักษณะของพันธุ์ไหมไทยลูกผสม

๓)      ไหมพันธุ์ลูกผสม เป็นไหมชนิด bivoltine ฟักออกปีละ ๒ ครั้ง ทีมีการสร้างสายพันธุ์โดยใช้สายพันธุ์ต่างประเทศเป็นคู่ผสมกัน กับการสร้างสายพันธุ์ที่มีการปรับปรุงคู่ผสมพันธุ์ไทยและพันธุ์ต่างประเทศรังรังไหมส่วนมากจะเป็นสีขาวลักษณะรังจะเป็นรูปไข่ เส้นใยยาวมากกว่า ๑,oooเมตร/รัง เช่น พันธุ์นครราชสีมาลูกผสม ๑ (โคราช ๑ xโคราช ๘)
http://www.sacict.net/fiber/page/silk/silk_html_m1015cfc8.jpg








แสดงลักษณะของพันธุ์ไหมลูกผสม

ซึ่งวิธีการเลี้ยงไหมในแต่ละพันธุ์ก็ใช้วิธีการเลี้ยงในลักษณะคล้ายๆกันดังนี้

๔.๑ศึกษาวิธีการเลี้ยงหนอนไหม
การเลี้ยงไหม
      ๔.๑.๑ เมื่อผีเสื้อผสมพันธุ์แล้ว จะวางไข่ภายใน ๑-๒ วันโดยจะออกไข่ได้ ๔๐๐-๖๐๐ ฟอง หลังจากวางไข่ประมาณ ๑๐ วันไข่จะฟักเป็นตัวหนอนเรียกว่า ตัวไหม หรือ หนอนไหม ทันที่ที่ฟักออกจากไข่ หนอนไหมจะเริ่มกินอาหารคือใบหม่อน
      ๔.๑.๒. ระยะที่เป็นตัวหนอนจะมีการเจริญเติบโตเป็น ๕ ระยะ แต่ละระยะจะมีการลอกคราบ เพื่อขยายขนาด การลอกคราบใช้เวลาครั้งละ ๒๔ ชม. ปกติหนอนไหมจะกินอาหารตลอดเวลา ยกเว้นตอนลอกคราบ ขั้นที่เป็นตัวหนอนนี้จะนานกว่าขั้นอื่นๆคือใช้เวลา ๒๐-๒๕ วัน
      ๔.๑.๓. ตัวหนอนระยะสุดท้ายจะมีขนาดใหญ่ที่สุดผู้เลี้ยงจะแยกหนอนไหมระยะนี้ออกไปใส่กระด้งหลายๆใบ และต้องให้อาหารมากกว่าระยะแรกๆ เมื่อหนอนไหมระยะนี้เติบโตเต็มที่ จะเริ่มชักใยพันรอบๆตัวโดยไม่ขาดสาย ซึ่งจะเสร็จเป็นรังไม่ภายใน ๒-๔ วันแล้วหนอนไหมก็ จะเปลี่ยนเป็นตัวดักแด้อยู่ภายในรังไหม
     ๔.๑.๔. ขณะที่เป็นดักแด้ก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจนเป็นตัวผีเสื้อไหมซึ่งใช้เวลา ๑๐-๑๒ วัน จากนั้นผีเสื้อไหมจึงเจาะรังไหมออกมา แล้วผสมพันธุ์ออกไข่ภายใน ๑-๒ วัน หลังจากนั้นจะมีอายุต่อไปเพียง ๒-๓ วัน ก็จะตาย ตัวไหมตั้งแต่ระยะที่เข้าดักแด้จนเป็นผีเสื้อไหมจะไม่กินอาหารเลย
      ๔.๑.๕. ในการเลี้ยงไหมเพื่อเก็บรังไหม ผู้เลี้ยงนิยมให้ตัวไหมชักไยในกระด้งที่มีลักษณะเป็นช่องๆที่เรียกว่า จ่อ ผู้เลี้ยงจะวางไหมที่โตเต็มที่แล้วลงในช่องเพื่อให้ชักไยได้ดีเมื่อตัวไหมชักไยไปได้ ๕-๗ วัน ก็เก็บรังไหมได้ โดยนำรังไหมไปผึ่งแดดหรืออบด้วยความร้อนให้ดักแด้ในรังไหมตายแล้วจึงนำไปสาวไหมต่อไป

๔.๒ศึกษาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากหนอนไหม
         คำอธิบาย: http://202.29.22.173/php/information2/pattarapon/P1010544.jpg ๔.๒.๑. สิ่งทอ ไหมเป็นสิ่งทอที่ล้ำค่ามากกว่าสิ่งทออื่นๆ จนได้รับสมญานามว่า ราชินีแห่งเส้นใยแม้ไหมจะมีข้อเสียคือ ยืดหยุ่นได้น้อย ยับง่าย และซักยาก แต่ข้อเสียเหล่านี้ก็ได้กำจัดหรือทำให้ลดน้อยลงไป โดยการใช้สารเคมีหลายชนิดในกระบวนการผลิต เพื่อทำให้ผ้าไหมซักง่ายขึ้น ลดการยับและลดการทำให้ผ้าเหลืองลงได้ ยังมีการพัฒนาเส้นไหมดิบให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยการตีเกลียวเส้นไหมในทิศทางกลับกันและถี่ขึ้น ใช้เส้นใยที่มีขนาดใหญ่ เส้นใยชนิดนี้จะมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ดี กำจัดข้อเสียต่างๆ ออกได้ ด้วยความเป็นเส้นใยที่ได้จากสัตว์ ไหมจึงได้เปรียบเหนือกว่าเส้นใยอื่น ไหมมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมในการระบายอากาศ ดูดซับความร้อน ทำให้ร่างกายสบาย มีการดูดซับน้ำและระบายความชื้นได้ดีและราคาถูก






การแปรรูปไหมเป็นสิ่งทอ
       
 ๔.๒.๒. เวชสำอาง โปรตีนไหม ชนิดไฟโบรอิน (silk fibroin) เป็นเลิศแห่งมอยซ์เจอไรเซอร์ ที่สามารถให้ความชุ่มชื้นสูงถึง ๓๐๐ เท่า ของน้ำหนัก มีสารช่วยป้องกันผิวแห้ง มีสารลดการเจริญของเชื้อไวรัสและสารต้านไวรัส ซึ่งเป็นผงโปรตีนไหมสกัดจากเส้นไหมที่ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับผิวหนังด้วยกระบวนการทางชีวเคมีดุจเดียวกับธรรมชาติผิว นั่นเป็นสรรพคุณของไหมที่บริษัทเครื่องสำอางแห่งหนึ่งที่ผลิตครีมบำรุงความชุ่มชื้นผิวจากโปรตีนไหมกล่าวถึงไหม นอกจากจะครองความเป็นเลิศในเรื่องของเส้นใยแล้ว ยังเป็นวัสดุที่มีคุณค่า เมื่อนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาพัฒนา
คำอธิบาย: http://anchaleecosmetics.com/wp-content/uploads/2014/08/1407244131281-848x478.jpg








ภาพที่ ๑๕ เวชสำอางจากไหม
          ๔.๒.๓. อาหารมนุษย์ มนุษย์รู้จักบริโภคดักแด้จากหนอนไหมมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏ แต่ชาวไทยที่เคยเลี้ยงไหม หรือสาวไหม ล้วนแล้วแต่รู้จักการบริโภคดักแด้ที่อยู่ในรังไหมเป็นอย่างดี เมื่อต้มรังไหมและสาวไหมจนหมดเส้นใย ก็มักจะลอกเปลือกรังชั้นใน และนำดักแด้ที่สุกแล้วมาบริโภค
คำอธิบาย: http://www.prachachat.net/online/2015/06/14346939831434694009l.jpg        








 ภาพที่ ๑๖ ดักแด้









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น