วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทที่๕ สรุปผลการดำเนินงาน

บทที่๕
สรุปผลการดำเนินงาน

๕.๑ สรุปผลการดำเนินงาน
     จากการศึกษาเรื่อง การเลี้ยงไหม จากเอกสารและสื่อออนไลน์การเลี้ยงไหม พบว่าภูมิปัญญาการเลี้ยงไหมได้มีมาแต่ช้านาน โดยชาวบ้านได้ยึดถือและปฏิบัติต่อมาจนสามารถสร้างรายได้แก้ผู้เลี้ยงไหมมาก ซึ่งหนอนไหมที่เลี้ยงก็มีอยู่หลายสายพันธ์ ซึ่งไหมก็คือตัวอ่อนของแมลงชนิดหนึ่ง เมื่อไหมโตเต็มที่ก็จะสร้างใยออกมา ผู้คนก็จะนำใยไหมที่ได้มาแปรรูปในกระบวนการต่อไป เช่น เป็นสิ่งทอ  เวชสำอาง หรือแม้กระทั่งเป็นอาหารของมนุษย์ ซึ่งสิ่งทอหรือผ้าไหมที่ได้จากกระบวนการแปรรูปไหมนั้น จะมีความแตกต่างทั้งทางด้านลวดลาย ลักษณะ โดยจะมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของ ภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นๆอีกด้วย ซึ่งจากการศึกษาในครั้งนี้ ทำให้คณะผู้จัดทำทราบว่า ที่มาของการเลี้ยงไหมนั้นมีมาไม่ต่ำกว่า ๔,๐๐๐ ปีแล้ว ซึ่งจีนเป็นชาติแรกที่นำเส้นใยไหมมาทอเป็นอาภรณ์เครื่องนุ่งห่มต่างๆ ขั้นตอนในการเลี้ยงไหมเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก ซึ่งการนำไหมไปแปรรูปนั้นสามารถสร้างรายได้ ให้กับชุมชนหรือหน่วยงานที่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตลอดจน ความสัมพันธ์ระหว่างผ้าไหมกับวิถีชีวิตของชาวไทย ซึ่งผ้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตของมนุษย์ นอกจากอาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคอีกด้วย


๕.๒ อภิปรายผล
      จากผลการค้นคว้า พบว่ารังไหมนำมาทำกระดาษได้ โดยทำกระดาษใยไหมหรือแผ่นใยไหมจากหนอนไหมเพื่อใช้เป็นวัสดุใหม่ ๆ สำหรับการใช้สอยในชีวิตประจำวัน และรังไหมนำมาทำผลิตภัณฑ์เวชสำอางได้ เมื่อมีการส่งเสริมความรู้ในการสกัดโปรตีนจากรังไหม และนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางต่างๆ อาทิ สบู่ แชมพู โลชั่น ฯลฯ ทำให้ปัจจุบันสบู่รังไหมขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์โอท็อปที่สร้างรายได้อย่างงามให้กับชุมชนเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ ๑ และข้อที่ ๓  ส่วนสมมติฐานข้อที่ ๒ หนอนไหมนำมาทำยาได้ ไม่เป็นไปตามที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้เพราะยังไม่มีการทดลองที่แน่ชัดจากทางการแพทย์หรือหน่อยงานที่เกี่ยวข้อง                                                                                          


๕.๓ ข้อเสนอแนะ
     จากการศึกษาเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม วิถีไทย วิถีสุรินทร์ คณะผู้จัดทำมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงงาน ดังนี้
     ๕.๒.๑ นอกจากการศึกษาเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแล้วยังมีวิถีชีวิตที่เป็นภูมิปัญญาไทยอีกหลายด้านที่สามารถใช้หลักการที่ใกล้เคียงกันจากการศึกษาครั้งนี้เพื่อไปศึกษาในเชิงเปรียบเทียบ

     ๕.๒.๒ ควรมีการนำเสนองานในรูปแบบหนังสือเล่มเล็กให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น